โซล่าเซลล์ที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งเป็นหลักๆ ได้ 3 ชนิด โซล่าเซลล์ที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งเป็นหลักๆ ได้ 3 ชนิดคือ อมอฟัส, ซิลิกอน และ แบบสารประกอบ 1. แบบอมอฟัส คือ แบบแผ่นที่เราจะเห็นทั่วไปในเครื่องคิดเลขพลังแสงอาทิตย์ จะมีสีดำ เดี๋ยวนี้มีการนำมาทำเป็น thin flim แต่เซลล์ชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำครับ ไม่น่าจะเกิน 12% 2.แบบซิลิกอนจะแบ่งออกเป็น สองประเภทหลัก คือแบบ โมโน และแบบ โพลี – 2.1 โดยแบบโมโนจะเป็นชนิดผลึกเดี่ยว จะมีความบริสุทธิ์ของซิลิกอนสูงกว่าแบบโพลี ซึ่งนั้นเองทำให้ราคามันแพงกว่าโพลี และมีประสิทธิภาพสูงกว่า ถึงประมาณ 18% สำหรับโครงการการเรียงตัวซิลิกอนแบบเก่า… Read More
ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์
จุดเด่นที่สำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ PTTEP Project by GSET ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์ เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้… Read More
จุดเด่นที่สำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
จุดเด่นที่สำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ Berthem Cemical Project by GSET เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีจุดเด่นที่สำคัญ แตกต่างจากวิธีอื่นหลายประการ ดังต่อไปนี้ ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงทำให้ไม่มีมลภาวะทางเสียง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด สามารถผลิตเป็นแผงขนาดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณมาก ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ… Read More
Panasonic partners with GS-Solar on heterojunction production and R&D
Panasonic partners with GS-Solar on heterojunction production and R&D Panasonic is transferring a 90% stake in its heterojunction (HIT) solar cell and module assembly plant in Malaysia to China-based PV manufacturer, GS-Solar as part of wider collaboration on HIT production… Read More
Panasonic transfers solar manufacturing unit to GS-Solar and creates new research JV
Panasonic transfers solar manufacturing unit to GS-Solar and creates new research JV The new solar R&D venture will be established in Japan. Image: Yuno-yuno/Wikimedia Commons Japanese electronics giant Panasonic has announced a cooperation agreement with Chinese heterojunction panel maker GS-Solar.… Read More
โซล่าฟาร์ม คืออีกแหล่งทางเลือกที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า
โซล่าฟาร์ม สถาวะขาดแคลนด้านพลังงานเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หันมาหาพลังงานทางเลือกกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี โซล่าฟาร์ม โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) หรือที่เรารู้จักกันในนาม โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์มจะกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งวา PV (Photo Voltaic) โดยการนำโซล่าเซลล์หลายๆแผงมาวางเรียงต่อกัน ซึ่งระบบติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นมีด้วยการ 2 แบบหลักคือ แบบยึดติดอยู่กับที่ (Fixed System) เป็นการติดตั้งแผงแบบระบุตำแหน่งชัดเจน การติดตั้งแบบอยู่กับที่นี้จะใช้ข้อมูลเฉลี่ยของระดับความเข้มของแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการกำหนดองศาของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้รับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด แต่การติดตั้งในรูแบบนี้ จะมีข้อเสียที่การรับแสงอาทิตย์จะรับได้ดีเพียงแค่บางช่วงเวลาของวันเท่านั้นหรือประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวันและสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ในเวลาเที่ยงเท่านั้น เนื่องจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานั่นเอง สำหรับข้อดีของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่คือ ต้นทุนในการติดตั้งแผงโซล่าจะต่ำกว่าแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ และค่าดูแลรักษาก็จะถูกกว่าด้วย แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) การติดตั้งโซล่าเซลล์ในรูปแบบนี้จะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าแบบอยู่กับที่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์… Read More
พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำมาทำน้ำทะเลดื่มได้
การเข้าถึงน้ำสะอาดในบางส่วนบนพื้นที่โลกเริ่มมีปัญหาเพิ่มขึ้น ระบบการแยกเกลือออกจากน้ำ (desalination) เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้น้ำเค็มหรือน้ำทะเลดื่มได้ แต่ที่ผ่านมาระบบดังกล่าวสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก การเดินระบบจึงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ระบบการแยกเกลือออกจากน้ำโดยใช้พลังงานจากไฟฟ้าจึงไม่เหมาะกับการใช้งานจริง แม้ว่าจะนำพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน แต่การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนยังมีค่าการสูญเสียที่สูงพอสมควร การนำเซลล์แสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายจึงไม่เห็นผลที่ชัดเจน ทางเลือกที่ดีกว่าคือการนำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยตรง เนื่องจากมีการสูญเสียจากการเปลี่ยนรูปพลังงานน้อยกว่าวิธีการใช้ไฟฟ้า สหรัฐอเมริกาลงทุน 21 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน 14 โครงการ ในเทคโนโลยีการแยกเกลือ โดยใช้แสงอาทิตย์ขั้นสูง (advance solar-desalination technologies) มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนพลังงานของระบบ และผลักดันให้นำไปใช้งานได้จริงในพื้นที่ห่างไกล โครงการได้ดำเนินการล่วงหน้ามาแล้ว 3 ปี ขณะนี้ (ปี ค.ศ. 2018) เริ่มลงนามสัญญากับผู้ร่วมทุน และเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมลงทุนได้ในวงเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีลูกค้าที่สนใจเข้าซื้อเทคโนโลยีอยู่ 4 กลุ่มหลัก… Read More
รังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Radiation)
ที่ผ่านมาหลายคนมีความเข้าใจไปว่าถ้าพื้นที่ใดแดดจัดอากาศร้อนแล้ว พื้นที่นั้นจะต้องมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แน่นอน แต่ข้อเท็จจริงคือ การผลิตไฟฟ้าด้วยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการพิจารณาพื้นที่ในการติดตั้งซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อปริมาณไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้มากหรือน้อย คือ ความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ต่อพื้นที่ (Solar Irradiation) โดยแสงจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear reaction) หรือ ปฏิกิริยา หลอมตัวทางนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งพลังงานที่แผ่รังสีมายังโลกของเรา เม่ื่อสังเกตุจากรูปภาพนั้นก็พอจะเห็นได้ว่าประเทศที่อยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ที่มีอากาศที่ร้อนแดดจัดบางประเทศมิได้มีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์มากที่สุด เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน แต่ถ้าเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาบางประเทศมีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์สูงมากและบางประเทศมีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับบ้านเรา แต่ที่น่าสนใจคือประเทศในฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของประเทศ ชิลี โบลิเวีย และ อาเจนติน่า นั้นมีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์สูงที่สุดในโลก เนื่องจากรังสีดวงอาทิตย์(Solar Radiation) เป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ รังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบขอบบรรยากาศเรียกว่า รังสีที่นอกโลก (Extraterrestrial Solar Radiation) ซึ่ง ประกอบด้วย ช่วงคลื่นสั้น ตั้งแต่… Read More
พลังงานแสงอาทิตย์ – การเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน
เซลล์แสงอาทิตย์ พลังงานแสงอาทิตย์ถูกใช้งานอย่างมากแล้วในหลายส่วนของโลก และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากกว่าการบริโภคพลังงานของโลกในปัจจุบันหลายเท่าหากใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้โดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือสำหรับทำความร้อน หรือแม้แต่ทำความเย็น ศักยภาพในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถูกจำกัดโดยแค่เพียงความเต็มใจของเราที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้ มีวิธีการมากมายที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ พืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมีโดยใช้การสังเคราะห์แสง เราใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้โดยการกินพืชและเผาฟืน อย่างไรก็ตามคำว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” หมายถึงการเปลี่ยนแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งาน ประเภทพื้นฐานของพลังงานแสงอาทิตย์ คือ “พลังความร้อนแสงอาทิตย์” และ “เซลล์แสงอาทิตย์” บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศอังกฤษ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนเพื่อใช้ในประเทศได้ กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นระบบเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่ต้องการแสงอาทิตย์ที่สว่างในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังผลิตไฟฟ้าในวันเมฆมากได้ด้วยเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้สัดส่วนกับความหนาแน่นของเมฆ… Read More
พลังงานโซล่าเซลล์ รวมข้อดีของ SOLAR CELL
พลังงานโซล่าเซลล์ Solar cell คือแหล่งพลังงานของคนรุ่นใหม่ ที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทที่สำคัญมากในโลกยุคใหม่ โลกที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน จากระบบฟอสซิล เช่น ก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมัน ไปเป็น พลังงานไฟฟ้า กิจกรรมเกือบทุกอย่างบนโลก จะพึ่งพาพลังงานจากไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมการผลิต ทั้งขนาดเล็ก ขนาดใหญ่โรงงานต่างๆ จะมีเครื่องจักร ที่ใช้ หุ่นยนต์ Ai มาเป็นผู้ควบคุมการผลิต รถยนต์ที่เคยใช้พลังงานจากน้ำมัน ก็จะเปลี่ยนมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า และแม้แต่ในออฟฟิศที่ทำงานของพวกเรา เราอาจจะต้องทำงานร่วมกับผู้ร่วมงาน หรือเจ้านายที่เป็นหุ่นยนต์ ! เมื่อวันนั้นมาถึง พลังงานไฟฟ้าจะเริ่มขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้น ตามกฏง่ายๆ ของหลักเศรษฐศาสตร์ ที่เราเรียนกันมาเลย Demand & Supply… Read More