โซล่าฟาร์ม

สถาวะขาดแคลนด้านพลังงานเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หันมาหาพลังงานทางเลือกกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี

 

โซล่าฟาร์ม

โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) หรือที่เรารู้จักกันในนาม โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์มจะกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งวา PV (Photo Voltaic)

โดยการนำโซล่าเซลล์หลายๆแผงมาวางเรียงต่อกัน ซึ่งระบบติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นมีด้วยการ 2 แบบหลักคือ

  1. แบบยึดติดอยู่กับที่ (Fixed System) เป็นการติดตั้งแผงแบบระบุตำแหน่งชัดเจน การติดตั้งแบบอยู่กับที่นี้จะใช้ข้อมูลเฉลี่ยของระดับความเข้มของแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการกำหนดองศาของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้รับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  แต่การติดตั้งในรูแบบนี้ จะมีข้อเสียที่การรับแสงอาทิตย์จะรับได้ดีเพียงแค่บางช่วงเวลาของวันเท่านั้นหรือประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวันและสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ในเวลาเที่ยงเท่านั้น เนื่องจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานั่นเอง สำหรับข้อดีของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่คือ ต้นทุนในการติดตั้งแผงโซล่าจะต่ำกว่าแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ และค่าดูแลรักษาก็จะถูกกว่าด้วย
  2. แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) การติดตั้งโซล่าเซลล์ในรูปแบบนี้จะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าแบบอยู่กับที่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ หลักการทำงานของระบบหมุนตามดวงอาทิตย์จะมีลักษณะแขนกลทำหน้าที่หมุนแผงเซลล์อาทิตย์ โดยจะควบคุมด้วยโปรแกรมที่เก็บข้อมูลความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดให้แผงเซลล์หมุนไปทิศทางใด ทำมุมองศาเท่าไหร่ จึงจะได้รับรังสีจากแสงอาทิตย์มากที่สุด

การใช้ระบบโซล่าฟาร์ม

สำหรับการทำโซล่าฟาร์มจำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อการใช้งานหรือจำหน่ายออกไป  สถานที่สำหรับการติดตั้งควรจะเป็นที่โล่ง แจ้ง ไม่มีเงามาบังแผงเซลล์ ไม่อยู่ใกล้สถานที่เกิดฝุ่น ควรวางให้แผงเซลล์มีความลาดเอียงประมาณ 10-15 องศา จากระดับแนวนอน และหันหน้าไปทางทิศใต้ เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตซีกโลกเหนือแนวเส้นทางของดวงอาทิตย์ที่ขึ้นจากทิศตะวันออกและไปตกในทิศตะวันตกจะเป็นแนวอ้อมใต้ จะสามารถรับรังสีอาทิตย์ได้มากที่สุด

การดูแลรักษา เนื่องจากแผงโซล่าเซลล์ในโซล่าฟาร์มมักจะติดตั้งอยู่กับที่ บริเวณใกล้พื้นดิน การดูแลรักษาจึงไม่ซับซ้อนมากนัก เพียงทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ด้วยผ้าชุบน้ำสะอาดเช็ค เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่เกาะติดอยู่เท่านั้นเองคะ ยิ่งกว่านั้นแผงโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี จึงทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์บ่อย


ระบบโซล่าฟาร์มผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

ปัจจุบันการสร้างโซล่าฟาร์มสามารถติดตั้งได้บนผืนน้ำ บริเวณอ่างเก็บน้ำ เขื่อน ซึ่งสามารถลดการใช้พื้นดินขนาดใหญ่ลงได้   เช่นที่อ่างเก็บน้ำควีนอลิสเบสที่ 2 (Queen Elizabeth II) กรุงลอนดอน และเขื่อน Yamakura ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้จากการศึกษาพบว่าการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนผืนน้ำจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นถึง 20 % เมื่อเทียบกับการผลิตจากแผงโซล่าเซลล์บนพื้นดิน เนื่องจากน้ำจะช่วยลดอุณหภูมิของแผงโซล่าลง นอกจากนี้การทำฟาร์มโซล่าบนน้ำสามารถลดการระเหยของน้ำได้อย่างมากได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยปกติแล้วน้ำจะระเหยสู่อากาศอยู่ตลอดเวลา

ปัจจุบันการสร้างโซล่าฟาร์มมีต้นทุนที่ลดลงเรื่อยๆ อันเนื่องมากจากการพัฒนาและคิดค้นที่มีมากขึ้น การผลิตอุปกรณ์ที่มีให้เลือกเยอะขึ้น ไม่ผูกขาดอยู่เพียงไม่กี่ผู้ผลิต อันเป็นการส่งสัญญาณที่ดีว่าเราจะสามารถใช้ไฟฟ้าได้ในราคาที่ถูกลงในอนาคต

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *