About Us

โซล่าเซลล์ที่ผลิตกันทุกวันนี้แบ่งเป็นหลักๆ ได้ 3 ชนิด

โซล่าเซลล์ที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งเป็นหลักๆ ได้ 3 ชนิด โซล่าเซลล์ที่ผลิตกันทุกวันนี้ แบ่งเป็นหลักๆ ได้ 3 ชนิดคือ อมอฟัส, ซิลิกอน และ แบบสารประกอบ   1. แบบอมอฟัส คือ แบบแผ่นที่เราจะเห็นทั่วไปในเครื่องคิดเลขพลังแสงอาทิตย์ จะมีสีดำ เดี๋ยวนี้มีการนำมาทำเป็น thin flim แต่เซลล์ชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพต่ำครับ ไม่น่าจะเกิน 12%   2.แบบซิลิกอนจะแบ่งออกเป็น สองประเภทหลัก คือแบบ โมโน และแบบ โพลี – 2.1 โดยแบบโมโนจะเป็นชนิดผลึกเดี่ยว จะมีความบริสุทธิ์ของซิลิกอนสูงกว่าแบบโพลี ซึ่งนั้นเองทำให้ราคามันแพงกว่าโพลี และมีประสิทธิภาพสูงกว่า ถึงประมาณ 18% สำหรับโครงการการเรียงตัวซิลิกอนแบบเก่า… Read More

ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์

จุดเด่นที่สำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ PTTEP Project by GSET ประวัติความเป็นมาของเซลล์แสงอาทิตย์       เซลล์แสงอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาครั้งแรกในปี ค.ศ. 1954 (พ.ศ. 2497) โดย แชปปิน (Chapin) ฟูลเลอร์ (Fuller) และเพียสัน (Pearson) แห่งเบลล์เทลเลโฟน (Bell Telephon) โดยทั้ง 3 ท่านนี้ได้ค้นพบเทคโนโลยีการสร้างรอยต่อ พี-เอ็น (P-N) แบบใหม่ โดยวิธีการแพร่สารเข้าไปในผลึกของซิลิกอน จนได้เซลล์แสงอาทิตย์อันแรกของโลก ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 6% ซึ่งปัจจุบันนี้เซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 15% แล้ว ในระยะแรกเซลล์แสงอาทิตย์ส่วนใหญ่จะใช้สำหรับโครงการด้านอวกาศ ดาวเทียมหรือยานอวกาศที่ส่งจากพื้นโลกไปโคจรในอวกาศ ก็ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังไฟฟ้า ต่อมาจึงได้มีการนำเอาแผงเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้บนพื้นโลกเช่นในปัจจุบันนี้… Read More

จุดเด่นที่สำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

จุดเด่นที่สำคัญของการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ Berthem Cemical Project by GSET เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีัอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีจุดเด่นที่สำคัญ แตกต่างจากวิธีอื่นหลายประการ ดังต่อไปนี้ ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงทำให้ไม่มีมลภาวะทางเสียง ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด สามารถผลิตเป็นแผงขนาดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณมาก ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ… Read More

Panasonic partners with GS-Solar on heterojunction production and R&D

Panasonic partners with GS-Solar on heterojunction production and R&D Panasonic is transferring a 90% stake in its heterojunction (HIT) solar cell and module assembly plant in Malaysia to China-based PV manufacturer, GS-Solar as part of wider collaboration on HIT production… Read More

Panasonic transfers solar manufacturing unit to GS-Solar and creates new research JV

Panasonic transfers solar manufacturing unit to GS-Solar and creates new research JV The new solar R&D venture will be established in Japan. Image: Yuno-yuno/Wikimedia Commons Japanese electronics giant Panasonic has announced a cooperation agreement with Chinese heterojunction panel maker GS-Solar.… Read More

ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงานที่น่าสนใจของไฮบริดอินเวอร์เตอร์

  เมื่อคิดที่จะใช้งานแผงโซล่าเซลล์แล้ว ก็คงจะต้องศึกษาเรื่องของระบบไฮบริดอินเวอร์เตอร์ไว้ประดับความรู้เพิ่มเติม เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวอุปกรณ์เสริมที่ติดเข้ากับแผงโซล่าเซลล์ที่น่าสนใจ มีหน้าที่ในการแปลงพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อใช้งานภายในบ้าน ซึ่งการแปลงพลังงานนั้นมี 2 ระบบ คือ ระบบกระแสตรงที่จะต่อมาจากแผงโซล่าเซลล์และกระแสสลับที่เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้าน พร้อมทั้งหน้าที่ในการช่วยจ่ายกระแสไฟออกไปสู่ตัวบ้าน รวมไปถึงการตัดกระแสไฟหรือเปลี่ยนระบบการจ่ายไฟฟ้าทันที เมื่อไฟฟ้าหลักเกิดความเสียหายหรือปัญหาไฟฟ้าดับ มีการใช้งานที่สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดดเด่นด้วยคุณสมบัติที่ทำให้ประหยัดค่าไฟลงได้ดี และเป็นการรวมเอาระบบออนกริดและออฟกริดมารวมกันเอาไว้เป็นหนึ่งเดียว รูปแบบการทำงานของระบบไฮบริดอินเวอร์เตอร์ จะเกิดขึ้นเมื่อโซล่าเซลล์เริ่มทำงานเก็บแสงจากดวงอาทิตย์ จากนั้นก็ทำการแปลงพลังงานแสงที่ได้รับมาไปสู่ไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นก็ลำเลียงเอากระแสไฟฟ้านี้ไปสู่ระบบไฮบริดต่อไป จากนั้นตัวระบบไฮบริดก็จะทำการแปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ เพื่อที่จะทำให้เกิดความเหมาะสมในการใช้งานกับเครื่องไฟฟ้าที่บ้านต่อไป ซึ่งขั้นตอนนี้ตัวระบบไฮบริดจะทำการเชื่อมต่อไปยังไฟฟ้าหลักของบ้าน หรือไฟที่มาจากการไฟฟ้า โดยที่อีกขั้วหนึ่งนั้นจะต่ออยู่กับไฟที่แบตเตอรี่ พร้อมด้วยอีกขั้วที่จะทำการจ่ายไฟฟ้าออกไปเพื่อที่จะนำไปใช้งานต่าง ๆ ภายในบ้าน ส่วนในเวลากลางคืนนั้นระบบไฮบริดสามารถที่จะทำงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำเอาไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ต่อมาจากตัวแบตเตอรี่ ซึ่งแบตเตอรี่นี้จะถูกเก็บไฟฟ้าเอาไว้ย่างเต็มเปี่ยม จนสามารถที่จะใช้งานไปได้ตลอดทั้งคืน แต่ถ้ามีการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จนทำให้เกินกว่ากำลังของไฟที่มีอยู่ ตัวระบบไฮบริดอินเวอร์เตอร์ก็จะทำการดึงไฟของอีกระบบหนึ่งมาใช้งานแทนทันที หรือถ้ามีปัญหาเรื่องของไฟฟ้าหลักของบ้านดับ ระบบไฮบริดก็จะเลือกเอาพลังงานไฟฟ้าที่มาจากแสงอาทิตย์มาแทนที่โดยทันที   ด้วยระบบไฮบริดอินเวอร์เตอร์ที่สามารถสร้างความมั่นด้วยการเป็นลูกผสมที่ยอดเยี่ยม… Read More

โซล่าฟาร์ม คืออีกแหล่งทางเลือกที่ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า

โซล่าฟาร์ม สถาวะขาดแคลนด้านพลังงานเชื้อเพลิง ทำให้ราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้หันมาหาพลังงานทางเลือกกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี   โซล่าฟาร์ม โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) หรือที่เรารู้จักกันในนาม โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โซล่าฟาร์มจะกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าเซลล์ (Solar Cell) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งวา PV (Photo Voltaic) โดยการนำโซล่าเซลล์หลายๆแผงมาวางเรียงต่อกัน ซึ่งระบบติดตั้งโซล่าเซลล์นั้นมีด้วยการ 2 แบบหลักคือ แบบยึดติดอยู่กับที่ (Fixed System) เป็นการติดตั้งแผงแบบระบุตำแหน่งชัดเจน การติดตั้งแบบอยู่กับที่นี้จะใช้ข้อมูลเฉลี่ยของระดับความเข้มของแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อทำการกำหนดองศาของการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ให้รับแสงอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด  แต่การติดตั้งในรูแบบนี้ จะมีข้อเสียที่การรับแสงอาทิตย์จะรับได้ดีเพียงแค่บางช่วงเวลาของวันเท่านั้นหรือประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวันและสามารถรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้เต็มที่ในเวลาเที่ยงเท่านั้น เนื่องจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลานั่นเอง สำหรับข้อดีของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่คือ ต้นทุนในการติดตั้งแผงโซล่าจะต่ำกว่าแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ และค่าดูแลรักษาก็จะถูกกว่าด้วย แบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) การติดตั้งโซล่าเซลล์ในรูปแบบนี้จะสามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าแบบอยู่กับที่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์… Read More

พลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำมาทำน้ำทะเลดื่มได้

การเข้าถึงน้ำสะอาดในบางส่วนบนพื้นที่โลกเริ่มมีปัญหาเพิ่มขึ้น ระบบการแยกเกลือออกจากน้ำ (desalination) เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้น้ำเค็มหรือน้ำทะเลดื่มได้ แต่ที่ผ่านมาระบบดังกล่าวสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามาก การเดินระบบจึงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ระบบการแยกเกลือออกจากน้ำโดยใช้พลังงานจากไฟฟ้าจึงไม่เหมาะกับการใช้งานจริง แม้ว่าจะนำพลังงานไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อลดต้นทุนด้านพลังงาน แต่การเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อนยังมีค่าการสูญเสียที่สูงพอสมควร การนำเซลล์แสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายจึงไม่เห็นผลที่ชัดเจน   ทางเลือกที่ดีกว่าคือการนำความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้โดยตรง เนื่องจากมีการสูญเสียจากการเปลี่ยนรูปพลังงานน้อยกว่าวิธีการใช้ไฟฟ้า สหรัฐอเมริกาลงทุน 21 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน 14 โครงการ ในเทคโนโลยีการแยกเกลือ โดยใช้แสงอาทิตย์ขั้นสูง (advance solar-desalination technologies) มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนพลังงานของระบบ และผลักดันให้นำไปใช้งานได้จริงในพื้นที่ห่างไกล โครงการได้ดำเนินการล่วงหน้ามาแล้ว 3 ปี ขณะนี้ (ปี ค.ศ. 2018) เริ่มลงนามสัญญากับผู้ร่วมทุน และเปิดให้ประชาชนเข้าร่วมลงทุนได้ในวงเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีลูกค้าที่สนใจเข้าซื้อเทคโนโลยีอยู่ 4 กลุ่มหลัก… Read More

รังสีจากดวงอาทิตย์ (Solar Radiation)

  ที่ผ่านมาหลายคนมีความเข้าใจไปว่าถ้าพื้นที่ใดแดดจัดอากาศร้อนแล้ว พื้นที่นั้นจะต้องมีศักยภาพสูงในการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แน่นอน แต่ข้อเท็จจริงคือ การผลิตไฟฟ้าด้วยการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์นั้น องค์ประกอบที่สำคัญในการพิจารณาพื้นที่ในการติดตั้งซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อปริมาณไฟฟ้าที่สามารถผลิตได้มากหรือน้อย คือ ความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ต่อพื้นที่ (Solar Irradiation) โดยแสงจากดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ (Thermonuclear reaction) หรือ ปฏิกิริยา หลอมตัวทางนิวเคลียร์ในดวงอาทิตย์กลายเป็นแหล่งพลังงานที่แผ่รังสีมายังโลกของเรา   เม่ื่อสังเกตุจากรูปภาพนั้นก็พอจะเห็นได้ว่าประเทศที่อยู่ในเขตเส้นศูนย์สูตร ที่มีอากาศที่ร้อนแดดจัดบางประเทศมิได้มีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์มากที่สุด เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน แต่ถ้าเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาบางประเทศมีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์สูงมากและบางประเทศมีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ใกล้เคียงกับบ้านเรา แต่ที่น่าสนใจคือประเทศในฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อของประเทศ ชิลี โบลิเวีย และ อาเจนติน่า นั้นมีความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์สูงที่สุดในโลก เนื่องจากรังสีดวงอาทิตย์(Solar Radiation) เป็นพลังงานที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ รังสีดวงอาทิตย์ที่ตกกระทบขอบบรรยากาศเรียกว่า รังสีที่นอกโลก (Extraterrestrial Solar Radiation) ซึ่ง ประกอบด้วย ช่วงคลื่นสั้น ตั้งแต่… Read More

พลังงานแสงอาทิตย์ – การเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงาน

เซลล์แสงอาทิตย์   พลังงานแสงอาทิตย์ถูกใช้งานอย่างมากแล้วในหลายส่วนของโลก และมีศักยภาพในการผลิตพลังงานมากกว่าการบริโภคพลังงานของโลกในปัจจุบันหลายเท่าหากใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้โดยตรงเพื่อผลิตไฟฟ้าหรือสำหรับทำความร้อน หรือแม้แต่ทำความเย็น ศักยภาพในอนาคตของพลังงานแสงอาทิตย์นั้นถูกจำกัดโดยแค่เพียงความเต็มใจของเราที่จะคว้าโอกาสนั้นไว้ มีวิธีการมากมายที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้งานได้ พืชเปลี่ยนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทางเคมีโดยใช้การสังเคราะห์แสง เราใช้ประโยชน์จากพลังงานนี้โดยการกินพืชและเผาฟืน อย่างไรก็ตามคำว่า “พลังงานแสงอาทิตย์” หมายถึงการเปลี่ยนแสงอาทิตย์โดยตรงมากกว่าเปลี่ยนไปเป็นพลังงานความร้อนหรือพลังงานไฟฟ้าสำหรับใช้งาน ประเภทพื้นฐานของพลังงานแสงอาทิตย์ คือ “พลังความร้อนแสงอาทิตย์” และ “เซลล์แสงอาทิตย์”   บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ในประเทศอังกฤษ พลังงานแสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าและน้ำร้อนเพื่อใช้ในประเทศได้   กระบวนการของเซลล์แสงอาทิตย์คือการผลิตไฟฟ้าจากแสง ความลับของกระบวนการนี้คือการใช้สารกึ่งตัวนำที่สามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อปล่อยประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอนุภาคที่ถูกชาร์จที่ขั้วลบ สิ่งนี้เป็นพื้นฐานของไฟฟ้า สารกึ่งตัวนำที่ใช้กันมากที่สุดในเซลล์แสงอาทิตย์คือซิลิกอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่พบโดยทั่วไปในทราย เซลล์แสงอาทิตย์ทุกชิ้นมีสารกึ่งตัวนำดังกล่าว 2 ชั้น ชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วบวก อีกชั้นหนึ่งถูกชาร์จที่ขั้วลบ เมื่อแสงส่องมายังสารกึ่งตัวนำ สนามไฟฟ้าที่แล่นผ่านส่วนที่ 2 ชั้นนี้ตัดกันทำให้ไฟฟ้าลื่นไหล ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าสลับ ยิ่งแสงส่องแรงมากเท่าใด ไฟฟ้าก็ลื่นไหลมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นระบบเซลล์แสงอาทิตย์จึงไม่ต้องการแสงอาทิตย์ที่สว่างในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังผลิตไฟฟ้าในวันเมฆมากได้ด้วยเนื่องจากผลิตไฟฟ้าได้สัดส่วนกับความหนาแน่นของเมฆ… Read More